หลักการทำงานแบบ Teamwork

ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์

“กิจกรรม OD อาจไม่ใช่การแก้ไขที่สาเหตุแบบยั่งยืนหรือไม่ ? เมื่อองค์กรพบปัญหาสมาชิกในองค์กรขาดความสามัคคีจึงมองหาการจัดกิจกรรม OD นอกสถานที่ ทั้งกิจกรรม Teamwork หรือกิจกรรม Teambuilding “ หลังจากกลับมาจากกิจกรรมนั้น ทุกคนทำงานตามหน้าที่เป็นปกติ

พบว่าหลังจัดกิจกรรม OD เมื่อสมาชิกทุกคนกลับไปทำงาน ความขัดแย้ง (Conflict) ปัญหาการไม่ลงรอย กระทบกระทั่งในการเจรจาพูดคุย เหตุการณ์เดิมๆ หวนกลับมาอีกครั้ง ส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จการปฏิบัติงาน

หลักการทำงานเป็นทีมให้สำเร็จมีประสิทธิภาพทุกกิจกรรมงาน ควร มีแนวทางทำงานร่วมกัน ทำอย่างไรให้สมาชิกทุกคนในทีมเข้าใจพร้อมขับเคลื่อนกลไกการทำงานไปด้วยกันอย่างราบรื่น

หลักการทำงานแบบ Teamwork

หลักการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย

  1. สมาชิกทุกคนในทีมมีความสำคัญเท่าเทียมกันไม่มีใครโดดเด่นเกินใคร
  2. หัวหน้าทีมมีภาวะผู้นำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีกับสมาชิกทุกคนในทีม
  3. เคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ทุกระดับตำแหน่งงาน
  4. ถือหลักการการทำงานและความถูกต้องของงาน ตามกฎระเบียบระบบงาน
  5. มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน
  6. แก้ไขข้อขัดแย้งด้วยเหตุและผล มีความประนีประนอมในการแก้ปัญหา
  7. มีการถกข้อมูล แก้ปัญหาความขัดแย้งปัญหาที่เกิดขึ้นในทีมด้วยหลักเหตุและผล งดใช้อารมณ์ความรู้สึกในการเจรจา
  8. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบงานตามความสามารถแต่ละบุคคล โดยคำนึงWork Life Balance
  9. มีความอิสระในการทำงาน ไม่ถูกควบคุมความคิดเห็นต่างทุกขั้นตอนจากหัวหน้างาน
  10. เมื่อจบงานหรือโครงการประสบความสำเร็จแจ้งสมาชิกทุกคนในทีมรับทราบ เพื่อสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จร่วมกัน

ใน การสร้างความสามัคคีในองค์กรมีบันได 2 ขั้น ประกอบด้วย

“บันไดขั้นแรก “ ในการสร้างความสำเร็จความสามัคคีในทีมคือองค์กรต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม โดยผ่านกลไกการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่แรกรับพนักงานใหม่กระทั่งครบเกษียณอายุงาน

  • กรณีพนักงานใหม่ ใส่ข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กรความเป็นทีมผ่านกระบวนการ จัดปฐมนิเทศ (Orientation) ค่านิยมองค์กร (Core Value) ระบบการดูแลแบบพี่เลี้ยง (Mentor) การจับคู่ทำงาน (Buddy) การสอนงาน (Teaching) การมีที่ปรึกษางาน (Consulting) เป็นต้น
  • กรณีพนักงานเก่า มีการปลูกฝังการทำงานเป็นทีมลงทุกส่วนงานผ่านกระบวนการ ประชุมแผนก (Meeting) การฝึกอบรมพัฒนาทักษะ (Soft Skills Training) การบริหารจัดการผลการปฏิบัติงาน(Performance Management) การวัดขีด สมรรถนะความสามารถ (Competencies) การพัฒนาบุคลากรแบบระบบเรียนรู้งานต้นแบบ(Job Shadowing) การจัดทำระบบพัฒนา ความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) เป็นต้น

“บันไดขั้นสอง” คือ การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ OD เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ วัตถุประสงค์เพื่อสมาชิกทุกคนในองค์กร ได้มีการปรับเปลี่ยนพักผ่อนนอกสถานที่ ได้ผ่อนคลายอารมณ์ความรู้สึกหลังจากทำงานร่วมกันมาอย่างแข็งขัน ฝึกการอยู่ร่วมกัน ณ เวลาหนึ่ง

ทุกกิจกรรมที่กล่าวข้างต้น ตามบันได 2 ขั้นสู่ความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นทีม ควรมีการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพ P D C A (วงจรพัฒนาคุณภาพของ Dr. Edwards W.Deming)ทุกขั้นเพื่อประเมินผลสำเร็จ พร้อมติดตาม Feedback เป็นระยะ ส่วนใหญ่การพัฒนาความเป็นทีมงานขาดการติดตามปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนสุดท้าย A (Action) ปรับปรุงแก้ไข ขาดการติดตามแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมทั้งหมดขาดรอยต่อความสำเร็จ

Originally published at https://www.consultthailand.com.

--

--

อาจารย์วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์
อาจารย์วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์

Written by อาจารย์วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์

0 Followers

วิทยากรและที่ปรึกษาองค์กร ภาครัฐ เอกชน ประสบการณ์ 1,500 องค์กร ทั้งในและต่างประเทศ ด้านจัดฝึกอบรม ที่ปรึกษา การออกแบบระบบ ติดตามประเมินผล การพัฒนาองค์กร

No responses yet